หน้าเว็บ

E - University

 
รูปแบบของ E - University 


เทคโนโลยีสารสนเทศโดยเฉพาะเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำให้ระยะทางไม่มีความหมาย เราสามารถดำเนินกิจกรรมร่วมกันในเรื่องต่าง บนเครือข่ายได้มากมาย ระบบคอมพิวเตอร์ทำให้เราสามารถประมวลผลข้อมูลได้รวดเร็ว เก็บข้อมูลได้มาก ค้นหาข้อมูลได้สะดวก แลกเปลี่ยนข่าวสารกันอย่างทันทีทันใดในระบบออนไลน์ ทำให้ระบบการทำงานต่าง ขยายตัวและให้บริการได้กว้างขวาง ธุรกิจและบริการดำเนินการแบบ 24 x 7 และขยายตัวเข้าครอบคลุมทุกพื้นที่ได้ เราจึงเรียกระบบเศรษฐกิจแบบนี้ว่า network economy หรือ new economy

สังคมโลกกำลังเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ e-Society เป็นการใช้ชีวิตและดำเนินกิจการต่าง ด้วยข้อมูลข่าวสารอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มประเทศอาเชียน ได้บรรลุข้อตกลงร่วมกันในการรวมกลุ่ม เพื่อให้เป็นการดำเนินการแบบ e-Asian ประเทศไทยตั้งกลยุทธ์รับด้วยการเตรียมประเทศเข้าสู่ e-Thailand โดยเน้นให้มีกิจกรรมการดำเนินการทางด้านสังคมอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศ เพื่อเตรียมการให้สังคมไทยเข้าสู่ e-Society กิจกรรมที่ต้องดำเนินการคือ เร่งส่งเสริมให้ภาคเอกชนได้ดำเนินธุรกิจแบบ e-Business และภาคราชการเร่งการให้บริการแบบเบ็ดเสร็จ (one stop service) ด้วย e-Government โดยมีกิจกรรมเสริมเพื่อความมั่นใจในการดำเนินการหลายเรื่อง เช่น เร่งออกกฎหมายในเรื่อง e-Signature เพื่อรองรับการใช้ E-Cash ในอนาคต

บทบาทที่ สำคัญของมหาวิทยาลัยจึงต้องปรับเปลี่ยนและดำเนินการ ทั้งนี้เพื่อต้องการให้มีการเรียนรู้ได้มากและรวดเร็ว ต้นทุนต่ำ การผลิตบุคลากรต้องกระทำได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี กระแสการขาดแคลนกำลังคนทางเทคโนโลยีในประเทศพัฒนาแล้ว ทำให้ทุกประเทศหันมาให้ความสนใจระบบการเรียนรู้แบบใหม่ เสริมกับระบบเดิมที่เรียกว่า e-Learning มีการใช้ไอทีเพื่อการศึกษากันอย่างกว้างขวางและมากมาย เพื่อรองรับระบบการเรียนรู้ที่มีข้อมูลข่าวสารจำนวนมาก การเรียนรู้ที่มีประสิทธิผลสูง ลงทุนต่ำ และได้ผลในเชิงการกระจายเข้าสู่มวลชนได้มาก ระบบการดำเนินการในมหาวิทยาลัยจึงต้องปรับเปลี่ยนเข้าสู่การดำเนินการแบบ e-University

e-University หมายถึง มหาวิทยาลัยที่ใช้ไอทีเข้าช่วยการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัย โดยเน้นการใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงให้เกิดกิจกรรมต่าง ๆ แบบออนไลน์ ใช้ข้อมูลข่าวสารจำนวนมาก และกระจายการใช้งานอย่างทั่วถึง การก้าวเข้าสู่การเป็น e-University ประกอบด้วย การใช้ไอ ทีเพื่อการเรียนการสอน 

 ไอที ซึ่งหมายถึง คอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายสื่อสารเข้ามาช่วยการดำเนินการ เรื่องการเรียนการสอนอย่างมาก เข้ามามีส่วนเสริมทั้งการเรียนแบบปกติ (Synchronouse System) และระบบการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้ด้วยผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Asynchronous System) ในระบบการเรียนการสอนแบบซิงโครนัส เน้นการจัดตารางสอน การเรียนรู้ในห้องเรียน อาจารย์และนิสิตพบกันที่สถานที่หนึ่งตามกำหนดในตารางสอน

ไอที เข้ามาเสริมโดยที่สภาพห้องเรียนทุกห้องมีระบบเชื่อมโยงกับเครือข่าย และต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ต ภายในห้องมีระบบการเรียกเข้าหาขุมความรู้ โดยสามารถฉายผ่านจอภาพให้นิสิตดูได้ การใช้บทเรียนมีวิธีการเรียนรู้แบบต่าง ๆ มาก ตั้งแต่การเรียนแบบ Web base learning การเรียกใช้ Teaching Material การนำเสนอด้วยภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว การสร้างแบบจำลองต่าง ๆ สำหรับการเรียนรู้แบบ อะซิงโครนัส นั้น เน้นผู้เรียนแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง เรียนที่ใดก็ได้ขอให้เข้าถึงเครือข่ายได้ ผู้เรียนเรียกเข้าได้จากทุกหนทุกแห่ง แม้อยู่ที่บ้าน และเรียกเวลาใดก็ได้ มีระบบการเรียนการสอนผ่านเครือข่าย มีโฮมเพจประจำวิชา ผู้เรียนสามารถทำแบบฝึกหัด ทำรายงานผ่านโฮมเพจของตน ใช้ระบบ chat พูดคุยในวิชาการตามห้องคุยที่กำหนด มี Web board ให้โต้ตอบในวิชาการที่เรียน ใช้ระบบอีเมล์ในการส่งคำถามคำตอบหรือสื่อสารต่าง ๆ


ไอทีกับการแสวงหาความรู้ ระบบห้องสมุดในสถาบันการศึกษากำลังเปลี่ยนแปลงไปมาก ห้องสมุดกำลังเข้าสู่ e-Library โดยเน้นรูปแบบ e-Service กล่าวคือ นิสิตสามารถเข้าไปเรียกค้นและเปิดดูหนังสือเอกสารต่าง ๆ ผ่านทางเครือข่ายโดยตรง มีระบบการค้นหาที่ดี สามารถเรียกค้นได้ง่าย ปัจจุบันมีการให้บริการทั้งวารสาร สิ่งตีพิมพ์ต่าง ๆ ในรูปอิเล็กทรอนิกส์ได้ ห้องสมุดในยุคต่อไปจะเป็นห้องสมุดแบบดิจิตอล และมีข่าวสารต่าง ๆ ให้ใช้งานได้มาก การบริหารและการจัดการ e-University การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยจะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ตั้งแต่วิธีการรับ การคัดเลือก การสอบ การดำเนินการเหล่านี้สามารถใช้เครือข่าย เป็นเครื่องมือติดต่อสื่อสารได้ การดำเนินการทางด้านทะเบียนนิสิต การจัดการทางด้านการเงิน ทรัพย์สิน การบริการต่าง ๆ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้ระบบออนไลน์ เพื่อการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ให้ได้รวดเร็ว รวมถึงการทำธุรกรรมร่วมกับหน่วยงานอื่น แบบ G to G, G to B หรือ G to C

การสร้างองค์ความรู้ (knowledge constructor) และงานวิจัย มหาวิทยาลัยในยุคใหม่จะต้องเป็นผู้สร้างองค์ความรู้และดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ทางด้านวิชาการ เช่น งานการค้นคว้าวิจัย งานบัณฑิตศึกษาที่ต้องมีการดำเนินการเกี่ยวกับวิทยานิพนธ์ งานเหล่านี้จำเป็นต้องมีเครื่องมือช่วยเพิ่มขีดความสามารถเชิงการคำนวณ เชิงการเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวนมากและรวดเร็ว การวิเคราะห์ข้อมูล การเผยแพร่และสร้างระบบการเชื่อมโยงกับนักวิจัยอื่นทั่วโลก

การเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ ไอทีได้เข้ามามีบทบาทในการเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ได้มาก มีระบบมัลติมีเดียที่เรียกดูตามความต้องการ (education on demand) มีระบบวิดีโอ ทีวีบนเว็บ มีระบบวิทยุบนเครือข่าย มีโฮมเพจทางวิชาการต่าง ๆ มากมาย กิจกรรมการเรียนการสอน จะช่วยทำให้เสริมสร้างศักยภาพการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัย

การกระจายโอกาสทางการศึกษา มหาวิทยาลัยในระบบ e-University สามารถกระจายพื้นที่การให้บริการได้มาก เพราะสามารถใช้ระบบการเรียนการสอนทางไกล (tele education) การเรียนการสอนแบบ e-Classroom โดยกระจายให้ผู้เรียนเรียนจากที่ห่างไกล และกระจายขอบเขตการศึกษาในทุกด้านที่มหาวิทยาลัยจะให้บริการได้ ตั้งแต่ระดับก่อนมหาวิทยาลัย ระดับวิชาชีพเฉพาะ และการศึกษาแบบต่อเนื่อง

โมเดลของ e-University จึงอยู่ที่ประชาคมของมหาวิทยาลัยทุกคนจะเป็นผู้เข้าใช้ระบบ นิสิตนักศึกษาเป็นผู้เรียกเข้าหาเครือข่าย สามารถเรียกใช้จากทุกหนทุกแห่ง แม้แต่การเรียกเข้าผ่าน ปาล์มท้อป โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์มือถือ แลปท้อป โน้ตบุค คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล การเข้าถึงเครือข่ายทำได้ทุกหนทุกแห่ง มีตั้งแต่ระบบไร้สาย (wireless) ระบบเรียกผ่านโมเด็มและใช้สายโทรศัพท์ที่บ้าน ใช้ระบบเคเบิ้ลโมเด็ม ระบบแลน แวน หรือวิธีการเชื่อมต่ออื่น ๆ การดำเนินกิจกรรมทางด้านการเรียนการสอนจะผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ใช้ e-Book e-Library ใช้โฮมเพจเป็นตัวแทน นิสิตทุกคนมีโฮมเพจของตนเองอยู่บนเครือข่ายของมหาวิทยาลัย อาจารย์ผู้สอนมีโฮมเพจและสร้างบทเรียนไว้บนเครือข่าย นิสิตส่งการบ้านผ่านเครือข่ายโดยสร้างเป็นโฮมเพจไว้ การจัดส่งการบ้านและการสื่อสารหลายอย่างใช้อิเล็กทรอนิกส์แทนกระดาษ



ความเป็นมาและแนวทาง

เนื่องจากมหาวิทยาลัยได้ให้ความสำคัญที่จะพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อนำมาใช้กับการเรียนการสอนการบริหารและการวิจัยของมหาวิทยาลัยให้ดำเนินไปได้อย่างรวดเร็วมีประสิทธิภาพ สามารถตอบสนองต่อสังคมภายนอกได้ ดังกรอบนโยบายด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัย ซึ่งมีเป้าหมายให้เป็น e-University โดยผสมผสานกับกระบวนการจัดการแบบปกติในกรณีที่จำเป็น โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัยให้มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ ประหยัด รวดเร็ว ปรับปรุงคุณภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการเรียนการสอน ให้มีความทันสมัย ก้าวทันเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เพื่อเพิ่มศักยภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการพัฒนา การวิจัย เพื่อความเข้มแข็งทางวิชาการ ส่งเสริมและพัฒนาวิชาการด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์แก่สังคมและชุมชน โดยได้วางแนวทางการดำเนินงานไว้ดังนี้
1. ในการบริหารยุคต่อไป การดำเนินการต้องถูกต้อง รวดเร็ว มีการใช้ข้อมูลข่าวสารอย่างมีประสิทธิภาพ (e-office) ลดค่าใช้จ่ายบางสิ่งบางอย่างที่ทำได้ทันที เช่น การสื่อสาร สิ่งพิมพ์ การบริหารจัดการ

2. ปฏิรูปการเรียนการสอนโดยใช้ไอทีเข้ามาช่วย เช่น การทำฐานข้อมูลกลาง ห้องสมุดดิจิตอล การเรียนการสอนทางไกล e-Learning การใช้สื่อ (e-Courseware) ต่าง ๆ กับการเรียนการสอน เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาให้มากขึ้น ซึ่งจากแผนฯ ของมหาวิทยาลัย มุ่งเน้นขยายการศึกษาไปในหลายวิทยาเขตโดยการลดต้นทุน จะทำให้มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีแนวโน้มที่จะเป็นมหาวิทยาลัยปิดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศยกเว้น มหาวิทยาลัยเปิดอย่างมหาวิทยาลัยรามคำแหง และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

3. เน้นความเข้มแข็งทางวิชาการและด้านวิจัยมุ่งไปสู่ Research University มี การพัฒนา องค์ความรู้ทางด้านงานวิจัย การวิจัยบนรากฐานการใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์คำนวณประสิทธิภาพสูง

4. การใช้ไอทีช่วยด้านประโยชน์ต่อสังคม ชุมชน และศิษย์เก่า รวมถึงการกระจายความรู้ทางด้านการเกษตรไปสู่ชุมชน โดยเน้นการบริการสารสนเทศการเกษตร (e-Ag)



 มิติการดำเนินงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัย เพื่อเข้าสู่การเป็น e-University


แผนงานที่จะดำเนินการในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารต่อไปให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น โดยจะมุ่งเน้นการพัฒนามิติต่าง ๆ ที่เป็นองค์ประกอบของการก้าวสู่การเป็น e-University 5 มิติดังนี้
 
1. มิติของ e-Academic ประกอบด้วย การพัฒนา e-Library, e-Courseware, e-Classroom ตลอดจนระบบการเรียนการสอนทางไกลแบบ class to class class to multiclass

2. มิติของ e-MIS ประกอบด้วย การทำให้มหาวิทยาลัยมีระบบบริหารงานบนพื้นฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์แบบออนไลน์
 
3. มิติของ e-Research เพื่อตอบสนองนโยบายมหาวิทยาลัยในการเป็น Research University
 
4. มิติของ e-Service มุ่งเป็นการบริการแบบ 24/7 และเข้าถึงการบริการแบบ one stop service
 
5. มิติของ e-Goverment เป็นการเชื่อมโยงระบบการบริหารงานร่วมกับหน่วยงานอื่นทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อดำเนินการแลกเปลี่ยนข่าวสารโดยตรงแบบอิเล็กทรอนิกส์

 
 
 




  

@ Credit : http://www.ku.ac.th/e-university/